โพลีเมอร์ สารช่วยรักษาชีวิตต้นไม้

โพลีเมอร์ สารช่วยรักษาชีวิตต้นไม้

คนที่ปลูกต้นไม้คงจะรู้สึกเจ็บปวดเมื่อเห็นต้นไม้ที่เรารักนั้นตายหรือเหี่ยวแห้งลงไปเมื่อขาดน้ำ ไม่ว่าจะเป็นการลืมรดน้ำ เกิดภัยแล้ง ฝนไม่ตกตามฤดูกาล ฯลฯ วันนี้ผมจะมาแนะนำสารชนิดนึงที่เราคุ้นเคยกันมานานแล้ว แต่อาจจะไม่รู้ตัวหรืออาจจะไม่รู้ว่าสามารถนำเอามาใช้กับการปลูกต้นไม้ได้

โพลีเมอร์ (Polymer) คือสารประเภทแป้งชนิดหนึ่งที่มีโครงสร้างซับซ้อนหรือคาร์โบไฮเดรตขนาดใหญ่ที่เกิดจากการสังเคราะห์ทางเคมีที่เรียกว่า ครอส-ลิ้งค์ โพลีเอคริลาไมด์ โคโพลีเมอร์ (Crosslinked Polyacrylamide Copolymer) ลักษณะคล้ายวุ้นที่ทำขนมหรือใช้เป็นอาหารเลี้ยงเห็ดรา อาหารเลี้ยงกล้วยไม้ หรือเนื้อเยื่อพืช เมื่อแห้งจะเป็นผงหรือเกล็ดเล็ก ๆ สีขาว เมื่อเปียกน้ำจะพองตัวมีลักษณะเป็นวุ้น

image
โพลีเมอร์ ขณะแห้ง
image
โพลีเมอร์เมื่อแช่น้ำจนพองตัวแล้ว

เมื่อก่อนนี้เรารู้จักโพลีเมอร์ในชื่อ “ตัวดูดน้ำ” ต่อมาเราก็นำเอาโพลีเมอร์มาใช้ในผลิตภัณฑ์ ผ้าอ้อมเด็ก ผ้าอนามัย เนื่องจากคุณสมบัติพิเศษของมันในการดูดซับน้ำได้อย่างดีมากนั่นเอง

ปัจจุบันนี้เรานำเอาโพลีเมอร์มาใช้ในการเกษตรกันอย่างกว้างขวางโดยการใช้ผสมกับดินในการปลูกพืช เพื่อช่วยในการเก็บน้ำของเนื้อดินและลดการชะล้างหน้าดินได้เป็นอย่างดี เนื่องจากเมื่อได้รับน้ำแล้ว โพลีเมอร์ จะพองตัวและมีลักษณะเป็นวุ้นที่รากพืชจะดูดน้ำมาใช้ในการเจริญเติบโตได้ และเมื่อรากพืชดูดน้ำไปใช้แล้วตัว โพลีเมอร์ ก็จะยุบตัวลงมาจนเกิดช่องว่างระหว่างเม็ดดิน เป็นการเพิ่มอากาศให้กับดินอีกด้วยทำให้ดินระบายอากาศดี ระบบรากเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี

เคยเห็นชาวสวนใช้ โพลีเมอร์ รองก้นหลุมก่อนปลูกต้นกล้า หรือขุดหลุมรอบบริเวณรากของต้นใหญ่แล้วใส่ โพลีเมอร์ ลงไปแล้วใช้ดินกลบ จะทำให้พืชรอดตายยามหน้าแล้งได้เป็นอย่างดี

ผมเริ่มใช้ โพลีเมอร์ แช่น้ำจนพองแล้วคลุกกับดินผสมกันปลูกต้นไม้ใหม่ และใช้รองก้นกระถาง+ขอบรอบกระถางของต้นที่ปลูกอยู่แล้ว สิ่งที่พบก็คือ ดินสามารถอุ้มน้ำได้ดีขึ้นมาก ปรกติรดน้ำแล้วน้ำจะไหลทิ้งจากก้นกระถางเร็วมาก แต่เมื่อใช้ โพลีเมอร์ น้ำจะแทบไม่ไหลออกมาจากก้นกระถางเลย(ในปริมาณน้ำเท่าเดิมที่รด)
ตอนนี้ก็หวังว่า โพลีเมอร์ จะช่วยให้ต้นไม้สวนครัวลอยฟ้าของผมมีสุขภาพที่ดีขึ้นกว่าเดิมเรื่อย ๆ

ข้อมูลเพิ่มเติม
โพลีเมอร์ สามารถอุ้มน้ำได้ 200-400 เท่าตัว ไม่มีสารพิษใด ๆ ไม่เป็นอันตรายต่อคนและพืช ไม่ระคายเคืองกับผิวหนัง และ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.